http://POZEDON.tripod.com  
     
   นร. ฆ่ากัน
 ชี้เหตุก่อความรุนแรง
 ประชดแฟน

 รัว .38 ยิงล้างบ้าน
 
ยิงกันใน ร.ร.
 
เลียนแบบสยอง
 
อย่าสอนลูกยิงปืน
 

ชี้สาเหตุเด็กก่อความรุนแรง

 
 
 

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ยังเป็นปัญหาที่หลบซ่อน อยู่ในมุมหลืบของสังคม ที่นักทำงานด้านนี้ มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง ล่าสุดคณะทำงานสาธารณสุข และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติฯ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ ได้จัดสัมมนา โครงการคุ้มครองเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ จากความรุนแรงในครอบครัว โดยมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นางศรัณยา ไชยสุต นักกฎหมาย นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ เลขาธิการศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และผู้แทนจากกลุ่มต่างๆ

นายสรรพสิทธิ์กล่าวก่อนว่า ปรากฏการณ์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้น เกิดขึ้นทั้งในและนอกครอบครัว เห็นได้จากมีการฆ่าตัวเองตาย ฆ่าผู้อื่น หรือแม้กระทั่งฆ่าเด็ก ปัญหานี้เราไม่มีทางรู้ว่า อย่างไหนเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง แต่บอกได้ว่า ความรุนแรงเริ่มต้นจากคนที่แข็งแรงที่สุดในครอบครัว แล้วถ่ายไปยังผู้ที่อ่อนด้อยกว่า จากการทำวิจัยของนักจิตวิทยาในต่างประเทศบอกได้ว่า การปฏิบัติกับคู่ครองในทางที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง มักส่งผลไปยังเด็ก เพราะเด็กตอบโต้ไม่ได้ ในขณะที่มีความต้องการที่จะได้รับการดูแล สิ่งเหล่านี้ถ่ายทอดไปทำให้เกิดการทำร้ายกัน ในหมู่พี่น้อง เมื่อเด็กโตขึ้นก็กลับมาทำร้ายพ่อ แม่ หรือผู้สูงอายุ ที่ต้องการการดูแลจากคนในครอบครัว แต่กลับมาถูกทำทารุณกรรมและถูกละเลยทอดทิ้ง

เลขาธิการศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เด็กย้ำด้วยว่า อย่างปัญหาที่เด็กใช้ปืนยิงเพื่อนสาวนั้น ตนไม่เห็นความสำคัญในการสอนให้เด็กรู้จักใช้อาวุธปืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อปกป้องคนในครอบครัว เพราะเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะพอ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นโทษเด็กไม่ได้ เพราะสภาพสังคมเป็นตัวหล่อหลอม ภาพยนตร์ วีดิโอเกมส์ที่ล้วนมีต่อความรุนแรง และที่สำคัญคือ พ่อแม่ที่เป็นชีวิตจริงและควรเป็นแบบอย่างให้ลูก ครอบครัวไม่ใช่ให้แต่เพียงอาหาร สิ่งของ แต่ควรสอนลูกด้วยวิถีชีวิตที่พ่อแม่ต้องอยู่ด้วยกันและศึกษาซึ่งกันและกัน

ด้านนางศรัณยากล่าวว่า ผู้หญิงเป็นกลไกที่สามารถรับรู้ถึงปัญหาความรุนแรงได้มากกว่าคนอื่น ปัญหาขณะนี้ก็คือ จะทำอย่างไรที่จะคุ้มครองหญิง เด็ก และผู้สูงอายุ ให้หลุดพ้นจากความรุนแรงที่เกิดได้ทั้งในและนอกบ้าน และตอนนี้หากเกิดความรุนแรงแล้ว เราควรจะเอาเกณท์หรือกฎหมายอะไรมาตัดสินเป็นมาตรฐาน เพราะปัญหานี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เป็นเรื่องที่พูดถึงบ่อยครั้ง และปัญหาก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทางกฎหมายความรุนแรงเป็นส่วนหนึ่ง ของปัญหาอาชญากรรม แต่คนทำไม่ใช่ อาชญากร และส่วนใหญ่ผู้ชายจะเป็นผู้กระทำจากหลายสาเหตุ ทั้งจากตัวผู้หญิงหรือแม้แต่ปัญหาเศรษฐกิจ ในครอบครัว แต่เมื่อเกิดแล้วมีแต่คนห่วงว่า เราจะลงโทษหรือควรเอากระบวนการใดมาลงโทษ ดังนั้น เรื่องของการเข้าไปแทรกแซงดูแลความสัมพันธ์ในครอบครัว การหามาตรการลดความรุนแรง รวมทั้งการลงโทษ ยังเป็นเรื่องที่ต้องมีการเสริมกฎหมายที่ยังมีช่องโหว่ นักกฎหมายหญิงย้ำด้วยว่า ปัจจุบันหากใครที่พบการล่วงเกินเด็ก หรือสตรีในฐานะประชาชนสามารถ ให้ความช่วยเหลือด้วยการแจ้งความกับตำรวจได้ทันที.